Skip to main content

สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย

เกี่ยวกับเรา

ความเป็นมาของสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
Thai Amateur Weightlifting Association (TAWA)

ประวัติความเป็นมา

สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2501 โดย นายกอง วิสุทธารมณ์ ผู้อำนวยการ กองกีฬา กรมพลศึกษา ได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้งสมาคมต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับอนุญาตในวันที่ 18 ตุลาคม 2501 จากนั้นได้ทำเรื่องขอจดทะเบียนสมาคม ต่อกองตำรวจสันติบาล ได้รับการจดทะเบียน ในวันที่ 22 ธันวาคม 2501 จึงนับได้ ว่าสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2501 โดยมีที่ตั้ง สำนักงาน ณ โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ตำาบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร

วัตถุประสงค์เพื่อ

  1. ส่งเสริมการยกน้ำาหนักในประเทศไทย
  2. จัดให้มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศ สโมสรสมาชิก
  3. จัดการแข่งขันยกน้ำาหนัก และส่งเสริมความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างสมาคมยกน้ำหนักนานาชาติ
  4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

โดยผู้ดำารงตำาแหน่งนายกสมาคมฯ คนแรก คือ นายสำราญ เตชะกำาพุธ

กิจกรรมของสมาคม

กิจกรรมที่สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการต่อเนื่องคือ จัดการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะ เลิศแห่งประเทศไทย ในระดับยุวชน เยาวชน และประชาชน, เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันยกน้ำหนักระดับนานาชาติ,การจัดอบรม ผู้ฝึกสอน และผู้ตัดสินกีฬายกน้ำหนัก, การเตรียมทีมนักกีฬาส่งเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติในนามของประเทศไทย เช่น การแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกีฬาซีเกมส์) เอเชี่ยนเกมส์ โอลิมปิกเกมส์ การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย และ การแข่งขัน ชิงชนะเลิศแห่งโลก เป็นต้น

การจัดการแข่งขันขันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย

สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย รับผิดชอบจัดการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยต่อ เนื่องเป็นประจำาทุกปี ๆ ละ 2-3 ครั้ง ในเบื้องต้นเป็นการแข่งขันเพื่อชิงถ้วยของหน่วยงานที่สนับสนุนการจัดการแข่งขัน ของ บุคคลสำคัญหรือของคณะกรรมการบริหารสมาคม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมกีฬายกน้ำหนักให้พี่ น้องประชาชนทั่วไปได้มีความเข้าใจและให้ความสนใจต่อกีฬายกน้ำหนักมากยิ่งขึ้น   ส่งผลให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีหน่วย งานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ สนับสนุนให้เยาวชนหันมาฝึกซ้อมและเล่นกีฬายก น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น  ทำาให้กีฬายกน้ำหนักในประเทศพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง มีนักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทยรุ่นใหม่เพิ่มมาก ขึ้นตามลำดับ

วิสัยทัศน์ (vision) 

“สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย พัฒนามาตรฐานการจัดการและบุคลากรสู่มาตรฐานสากล สร้างความสำเร็จและความภาคภูมิใจในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ และการแข่งขันระดับโลก”

นิยามของวิสัยทัศน์

สมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทยมีความสามารถในการบริหารจัดการทั้งในส่วนของสมาคมฯ พัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของนักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬาต่างๆ ทั้งผู้ตัดสิน ผู้ฝึกสอน และผู้บริหารไปสู่ระดับสากล เพื่อเป้าหมายสูงสุดในความเป็นเลิศในวงการกีฬายกน้ำหนักระดับโลกและประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับโลก เช่น กีฬาโอลิมปิกและกีฬายกน้ำหนักชิงแชมป์โลก

พันธกิจ (mission)

  1. พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้เป็นองค์กรกีฬามาตรฐานที่มีศักยภาพในการบริหารองค์กรให้พึ่งพาตนเองและเป็นองค์กรกีฬาในระดับสากล
  2. พัฒนานักกีฬา ขยายฐานนักกีฬา บริหารจัดการการฝึกซ้อมของนักกีฬาให้มีศักยภาพในการแข่งขันและประสบความสำเร็จในกีฬาเป็นเลิศระดับโลก
  3. พัฒนาบุคลากรกีฬาของประเทศให้มีปริมาณและสมรรถภาพที่เพียงพอต่อการรองรับ การพัฒนาการแข่งขันและการเติบโตทางการกีฬาของประเทศและเป็นศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรกีฬา แบบครบวงจรในระดับนานาชาติ
  4. บริหารจัดการการแข่งขันกีฬายกน้ำหนักให้มีมาตรฐานสากล ควบคุม กำกับ และพัฒนา การแข่งขันกีฬาของประเทศให้ได้มาตรฐานตามหลักของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ
  5. พัฒนาวิชาการ เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์กีฬาและการให้บริการทางการกีฬาแก่สังคม และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา

ทำเนียบนายกสมาคม

  1. นายสำราญ เตชะกำาพุธ (2501-2531)
  2. นายเฉลิม ศรีบุญเรือง(2501-2531)
  3. นายอาทร สังขะวัฒนะ (2501-2531)
  4. นายสุชาติ สมิทธินันต์ (2501-2531)
  5. พลเอก วิมล วงศ์วานิช (5 ก.พ. 2531-25 ม.ค. 2535)
  6. พลเอก ชัยณรงค์  หนุนภักดี (26 ม.ค. 2535-13 ต.ค. 2543)
  7. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย (14 ต.ค. 2543-10 เม.ย. 2548)
  8. นางบุษบา ยอดบางเตย (11 เม.ย. 2548-3 พ.ค. 2555)
  9. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย (14 พ.ค. 2555-1 ก.ย. 2557)
  10. นางบุษบา ยอดบางเตย (2 ก.ย. 2557-30 ม.ค.2563)
  11. นายปรัชญา กีรตินันท์ (9 เม.ย. 2563-ปัจจุบัน)

นายกกิตติมศักดิ์

  1. พลเอก วิมล วงศ์วานิช
  2. พลเอก ชัยณรงค์  หนุนภักดี
  3. นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
  4. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย

กรรมการบริหาร

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง
1 นายปรัชญา กีรตินันท์ นายกสมาคมฯ
2 นายนิวัตน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ อุปนายกและประธานฝ่ายเทคนิค
3 นายไชยยศ ตั้งวรกุลชัย อุปนายก
4 พลเอก ยศศนันทฬ์ หร่ายเจริญ อุปนายก 
5 พลอากาศโท วัฒนชัย เจริญรัตน์ กรรมการและประธานฝ่ายเตรียมนักกีฬา
6 นายสมศักดิ์ กาญจนาคาร กรรมการและประธานฝ่ายสิทธิประโยชน์
7 นายธงชัย วรไพจิตร กรรมการและประธานฝ่ายวิชาการ
8 รองศาสตราจารย์ ณัฐพงศ์ โปษกะบุตร  กรรมการและประธานฝ่ายกฎหมาย 
9 พลโท วุฒิไชย อิศระ กรรมการและประธานฝ่ายแพทย์
10 นายนิพนธ์ ลิ่มบุญสืบสาย กรรมการและประธานฝ่ายต่างประเทศ
11 นางสาวอรุณพร วิริยะ เหรัญญิก
12 นางธรพรรษธร วจีธัญเจริญกุล ประชาสัมพันธ์
13 ผู้ช่วยศาสตราจารย์จอมชัย เลิศอมรรัฐ ปฏิคม
14 พลเอก วิสุทธิ์ เดชสกุล เลขาธิการ
15 นาวาเอก เพชรเกษม รตาภรณ์ รองเลขาธิการและนายทะเบียน

ประธานที่ปรึกษา

นางบุษบา ยอดบางเตยนายกเทศมนตรีเชียงใหม่ พ.ศ. 2538 – 2541

ข้อมูลส่วนตัว

  • วันเกิด:  4 กุมภาพันธ์ 2494 (อายุ 69 ปี)
  • สัญชาติ: ไทย
  • ศาสนา: พุทธ
  • คู่สมรส:  พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย อดีตวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่

ด้านการศึกษา:

  • ระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเมือง) จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2550

ด้านการเมือง:

  • เทศมนตรีฝ่ายการศึกษา ฝ่ายบริหาร นครเชียงใหม่
  • นายกเทศมนตรีนครเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2538 – 2541)
  • สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2549)

ด้านกีฬา:

  • นายกสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2548 – 2555 และ พ.ศ.2557 – 2563)
  • รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2552 – 2556)
  • คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้มอบอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ด้านสตรีและกีฬา (Women and Sport Achievement) (พ.ศ. 2556)
  • คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2560)
  • คณะกรรมการกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2562)
  • เลขาธิการสหพันธ์ยกน้ำหนักแห่งเอเชีย (Asian Weightlifting Federation) (พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน)

 ด้านกีฬายกน้ำหนัก:

  • ประสบการณ์ในการบริหารงานสมาคม 18 ปี
  • ประสบการณ์ในการตัดสินระดับนานาชาติ 6 ปี
  • ส่งเสริมและพัฒนานักกีฬาไทยจนได้รับเหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิก (Beijing 2008, Rio 2016)
  • ส่งเสริมนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก การแข่งขันชิงแชมป์โลก และผลักดันนักกีฬาไทยสู่การสร้างสถิติโลก รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนา ผู้ฝึกสอน และผู้ตัดสินในระดับนานาชาติ

ประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก:

  • การแข่งขัน EGAT ยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ระดับประชาชนและเยาวชน
  • การแข่งขัน EGAT ยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ระดับยุวชน
  • การแข่งขันยกน้ำหนักชิงแชมป์ยุวชนโลก ประจำปี พ.ศ. 2560 (2017 IWF Youth World Weightlifting Championships, Bangkok, Thailand)
  • การแข่งขันยกน้ำหนักชิงแชมป์โลก ประจำปี พ.ศ. 2562 (2019 IWF World Championships, Pattaya, Thailand)

การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการยกน้ำหนัก:

  • จัดการเลือกตั้งของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (2017 IWF Electoral Congress)
  • จัดการประชุมวิสามัญของสหพันธ์ยกน้ำหนักแห่งเอเชีย (2017 AWF Extraordinary Meeting)
  • จัดการประชุมกรรมการบริหารของสหพันธ์ยกน้ำหนักแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2017 SEAWF Executive Board Meeting)
  • จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ตัดสินตามแนวทางของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (IWF Development Program Seminar & Workshop Weightlifting Technical Official)

ที่ปรึกษา

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง
1 นางบุษบา ยอดบางเตย ประธานที่ปรึกษา
2 พลเอก เจน  คีรีทวีป รองประธานที่ปรึกษา
3 นายปิติ ภิรมย์ภักดี รองประธานที่ปรึกษา
4 นายอานัติ วิเศษรจนา รองประธานที่ปรึกษา
5 พลเอก คณิต สาพิทักษ์ รองประธานที่ปรึกษา
6 นายฤทธิณรงค์ กุลประสูตร รองประธานที่ปรึกษา
7 นายคติพจน์ เกิดมั่นคง ที่ปรึกษา
8 นางสาวจรัสพร กีรติเสวี ที่ปรึกษา
9 นายไชยรัตน์ อุดมกิจปัญญา ที่ปรึกษา
10 นายดามพ์ บุญธรรม ที่ปรึกษา
11 นายดุสิต มายะการ ที่ปรึกษา
12 นายทรงชัย วงษ์วัชรดำรง ที่ปรึกษา
13 นายนิมิต สุจิรัตนวิมล ที่ปรึกษา
14 นายบรรพต แสงเขียว ที่ปรึกษา
15 นางสาวปัทมา ลำเต็ม ที่ปรึกษา
16 นายพินิจ   มายะการ ที่ปรึกษา
17 นายมนตรี  หาญใจ ที่ปรึกษา
18 นายยงยุทธ เพ็ชร์สุวรรณ ที่ปรึกษา
19 นายรชต ยอดบางเตย ที่ปรึกษา
20 นายศักดิพล ยอดบางเตย ที่ปรึกษา
21 นายศิริพจน์ ศรีบัณฑิตกุล ที่ปรึกษา
22 นายสนธยา หลาวหล่าง ที่ปรึกษา
23 นายสมโภชน์ ยิ้มพลอย ที่ปรึกษา
24 พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด ที่ปรึกษา
25 นางสาวสิริลักษณ์ ทัดมั่น ที่ปรึกษา
26 นายสุชาติ สุวรรณศรี ที่ปรึกษา
27 นายสุทิน ดรุณโยธิน ที่ปรึกษา
28 นางสาวสุนันทา เทียมเพ็ชร์ ที่ปรึกษา
29 นายสุรพล ทวนเงิน ที่ปรึกษา
30 นายอนุพล ลิขิตพฤกษ์ไพศาล ที่ปรึกษา
31 นางสาวอรวรรณ ภู่ชัยวัฒนานนท์   ที่ปรึกษา
32 พันโทหญิง อภิญญา ดัชถุยาวัตร ที่ปรึกษา

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง
1 พลตรี อินทรัตน์  ยอดบางเตย นายกกิตติมศักดิ์
2 พลอากาศเอก จิรศักดิ์  ภูวนารถนุรักษ์   ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
3 พลโท พิบูลย์  วิเชียรวรรณ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
4 นายสันติ  ภิรมย์ภักดี ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
5 นายธนา  ไชยประสิทธิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
6 นายชัย  นิมากร ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
7 นางนิพัทธา  อมรรัตนเมธา ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
8 นายจิตตเกษมณ์  นิโรจน์ธนรัฐ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
9 นายขจรศักดิ์ สิงโตกุล ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
10 นายไพศาล พืชมงคล  ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
11 พลเรือเอก ปิติ วัลยะเพ็ชร์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
12 พลเอก พงศธร ฉายกำเหนิด ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
13 นายสมบูรณ์ ศุภอักษร ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
14 พลตำรวจเอก สุเทพ เดชรักษา ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
15 พลตำรวจเอก สุนทร ซ้ายขวัญ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

เจ้าหน้าที่

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง
1 พันเอก ศิขรัชฐ์ เอมโกษา  หัวหน้าสำนักงานเลขาธิการ
2 นายสมภพ กรณ์ทอง  เจ้าหน้าที่สำนักงาน
3 นางสาวจีระนันท์ พิมมนตรี  เจ้าหน้าที่สำนักงาน
4 นางสาวเนติภรณ์ บุญวิทยา เจ้าหน้าที่สำนักงาน
5 นายภูริช ภูมิพานิช เจ้าหน้าที่สำนักงาน
6 นายธนเดช หทัยนมะ เจ้าหน้าที่สำนักงาน
7 นายนัฐพงษ์ คำแพงศรี เจ้าหน้าที่สำนักงาน
9 นางสาวกรรณิการ์ ศรีจันเทพ   เจ้าหน้าที่ประสานงาน Fonsa

 

  • ฮิต: 46792