Skip to main content

ข่าวประชาสัมพันธ์

“ธนพร” จอมพลังวัย 17 ปี สู้เต็มที่ จบอันดับ 8 ศึกชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย

"ธนพร แซ่เตีย" จอมพลังวัย 17 ปี สู้เต็มที่ ก่อนคว้าอันดับ 8 ทั้ง 3 ท่า รุ่น 59 กิโลกรัมหญิง ขณะที่ 2 สาวจากแดนมังกร แบ่งเหรียญทองกันเอง ในศึกยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้ สรุปผลงานทัพยกเหล็กไทยยังทำผลงานเท่าเดิมมี 3 เหรียญทอง และ 4 เหรียญทองแดง

การแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้ ก่อนหน้านี้ทัพยกน้ำหนักไทยคว้ามาแล้ว 3 เหรียญทอง และ 4 เหรียญทองแดง ดังนี้ รุ่น 45 กิโลกรัมหญิง "มายด์" สิริวิมล ประมงคล 3 เหรียญทอง/ รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง ธรรญธร สุขข์เจริญ 1 เหรียญทองแดง จากท่าสแนทช์, สุรจนา คำเบ้า 1 เหรียญทองแดง น้ำหนักรวม/ รุ่น 61 กิโลกรัมชาย ธีรพงศ์ ศิลาชัย 2 เหรียญทองแดง จากท่าคลีนแอนด์เจิร์ก และ น้ำหนักรวม

ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ทีมไทยส่ง ธนพร แซ่เตีย วัยเพียง 17 ปี ลงชิงชัยในรุ่น 59 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ ถือเป็นนักกีฬาที่อายุน้อยที่สุดของกลุ่มเอด้วย โดยท่าสแนทช์ ธนพร เรียกเหล็ก 88, 92, 95 กิโลกรัม ตามลำดับ ยกผ่านไปได้ทั้งหมด สถิติอยู่ที่ 95 กิโลกรัม ได้ที่ 8 จากนั้นท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ธนพร ยกผ่านครั้งแรกที่ 110 กิโลกรัม จากนั้นครั้งที่ 2 เรียกเหล็ก 114 กิโลกรัม แต่ยกไม่ผ่าน ก่อนจะออกมาแก้ตัวสำเร็จที่น้ำหนักเดิม สถิติอยู่ที่ 114 กิโลกรัม ได้ที่ 8 ส่วน น้ำหนักรวม สถิติ 209 กิโลกรัม ได้ที่ 8

ขณะที่ ลัว ชิฟาง จากจีน ได้ 2 เหรียญทอง ท่าสแนทช์ 105 กิโลกรัม, น้ำหนักรวม 238 กิโลกรัม และ 1 เหรียญเงิน ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 133 กิโลกรัม ส่วน เป่ย ซินยี จากจีน ได้ 1 เหรียญทอง ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 133 กิโลกรัม (ยกทำสถิติได้ก่อน) และ 2 เหรียญเงิน ท่าสแนทช์ 103 กิโลกรัม, น้ำหนักรวม 236กิโลกรัม

ด้าน กั๊วะ ซิง-ชุน จากไต้หวัน ได้ 3 เหรียญทองแดง ท่าสแนทช์ 102 กิโลกรัม, ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 128 กิโลกรัม, น้ำหนักรวม 230 กิโลกรัม ฝั่ง ฮิดิลิน ดิอาซ เจ้าของเหรียญทอง รุ่น 55 กิโลกรัม โอลิมปิก "โตเกียวเกมส์" จากฟิลิปปินส์ ท่าสแนทช์ 99 กิโลกรัม ได้ที่ 4, ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 122 กิโลกรัม ได้ที่ 5, น้ำหนักรวม 221 กิโลกรัม ได้ที่ 4

สรุปผลงานทัพยกเหล็กไทยยังทำผลงานเท่าเดิมมี 3 เหรียญทอง และ 4 เหรียญทองแดง

สำหรับโปรแกรมการแข่งขันรุ่นอื่นๆ มีดังนี้ วันที่ 8 พฤษภาคม รุ่น 73 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 16.00 น. วีรพล วิชุมา และ สุทธิพงษ์ จีรัมย์, วันที่ 10 พฤษภาคม รุ่น 76 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ เวลา 11.00 น. สิริยากร ไขพันดุง และ รุ่น 89 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 13.00 น. จ่าเอกพชรเมธี ธาระพันธ์, วันที่ 11 พฤษภาคม รุ่น 96 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 16.00 น. ศรัท สุ่มประดิษฐ์ และวันที่ 13 พฤษภาคม รุ่นมากกว่า 87 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ เวลา 11.00 น. ดวงอักษร ใจดี

  • Hits: 3335

“ธีรพงศ์” สุดโหด! กระชาก 2 เหรียญทองแดง พร้อมทุบสถิติเยาวชนเอเชียและเยาวชนโลก

จอมพลังหนุ่มไทยสุดปัง "ธีรพงศ์ ศิลาชัย" วัย 20 ปี แม้อายุยังอยู่ในระดับเยาวชน แต่ต่อกรกับรุ่นใหญ่ได้อย่างไม่เกรงกลัว คว้า 2 เหรียญทองแดง รุ่น 61 กิโลกรัมชาย พร้อมทุบสถิติเยาวชนเอเชียและเยาวชนโลก ลงได้ในท่าคลีนแอนด์เจิร์ก และสถิติน้ำหนักรวม ในศึกยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้

การแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้ หลังเปิดฉากวันแรก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 ทัพยกนำ้หนักไทยคว้ามาได้ 3 เหรียญทอง จาก "มายด์" สิริวิมล ประมงคล รุ่น 45 กิโลกรัมหญิง และ 2 เหรียญทองแดง รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง ธรรญธร สุขข์เจริญ จากท่าสแนทช์ ส่วน สุรจนา คำเบ้า จากสถิติน้ำหนักรวม

ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ทีมไทยได้ลุ้นจาก ธีรพงศ์ ศิลาชัย วัย 20 ปี ซึ่งลงชิงชัยในรุ่น 61 กิโลกรัมชาย แม้อายุของจอมพลังหนุ่มไทยยังอยู่ในเกณฑ์ระดับเยาวชน แต่ต่อกรกับรุ่นใหญ่ได้อย่างไม่เกรงกลัว เริ่มต้นท่าสแนทช์ ธีรพงศ์ เรียกเหล็ก 127, 130, 132 กิโลกรัม ตามลำดับ ได้อันดับ 4

จากนั้นท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ธีรพงศ์ โชว์ฟอร์มยอดเยี่ยมเรียกเหล็ก 162, 164, 167 กิโลกรัม ตามลำดับ ยกผ่านไปได้ทั้งหมด คว้าเหรียญทองแดงไปครอง พร้อมทำลายสถิติเยาวชนเอเชียของ โมฮาหมัด เอนิค คาสดัน จากมาเลเซีย ที่ทำไว้ 160 กิโลกรัม และทำลายสถิติเยาวชนโลกของ แฮมป์ตัน มิลเลอร์ มอร์ริส จากสหรัฐอเมริกา ที่ทำไว้ 163 กิโลกรัม

ขณะที่ น้ำหนักรวม ธีรพงศ์ ทำสถิติ 299 กิโลกรัม พร้อมทุบสถิติเยาวชนเอเชีย และเยาวชนโลกของ เฮอ หยูจี จากจีน ที่ทำไว้ 296 กิโลกรัม ลงได้ด้วย

ด้าน ลี ฟาบิน จากจีน กวาด 3 เหรียญทอง ท่าสแนทช์ 143 กิโลกรัม, ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 171 กิโลกรัม, น้ำหนักรวม 314 กิโลกรัม ส่วน เฉิน ลีจุน จากจีน คว้า 3 เหรียญเงิน ท่าสแนทช์ 142 กิโลกรัม, ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 168 กิโลกรัม, น้ำหนักรวม 310 กิโลกรัม ขณะที่เหรียญทองแดง ท่าสแนทช์ เป็นของ ริคโก ซาปุตรา จากอินโดนีเซีย 133 กิโลกรัม

สรุปผลงานทัพยกเหล็กไทยคว้าไปแล้ว3 เหรียญทอง และ 4 เหรียญทองแดง

สำหรับโปรแกรมการแข่งขันรุ่นอื่นๆ มีดังนี้ วันที่ 7 พฤษภาคม เวลา 16.00 น. รุ่น 59 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ สุรัสวดี ยอดสาร และ ธนพร แซ่เตีย, วันที่ 8 พฤษภาคม รุ่น 73 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 16.00 น. วีรพล วิชุมา และ สุทธิพงษ์ จีรัมย์, วันที่ 10 พฤษภาคม รุ่น 76 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ เวลา 11.00 น. สิริยากร ไขพันดุง และ รุ่น 89 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 13.00 น. จ่าเอกพชรเมธี ธาระพันธ์, วันที่ 11 พฤษภาคม รุ่น 96 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 16.00 น. ศรัท สุ่มประดิษฐ์ และวันที่ 13 พฤษภาคม รุ่นมากกว่า 87 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ เวลา 11.00 น. ดวงอักษร ใจดี

  • Hits: 6298

"ธรรญธร-สุรจนา" คว้าคนละ 1 ทองแดง รุ่น 49 กก. หญิง ศึกเอเชีย

จอมพลังไทยยังแรง "ธรรญธร สุขข์เจริญรับเหรียญทองแดง ท่าสแนทช์ ส่วน "สุรจนา คำเบ้าครองเหรียญทองแดง น้ำหนักรวม รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง ศึกยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้ สรุปผลงานจอมพลังไทยประเดิมผลงานวันแรกคว้าไป เหรียญทอง และ เหรียญทองแดง

การแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้ ในวันที่ พฤษภาคม 2566เวลา 16.00 รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ ทีมไทยส่ง ธรรญธร สุขข์เจริญ และ สุรจนา คำเบ้า ลุ้นเหรียญรางวัล ปรากฏว่า ท่าสแนทช์ จอมพลังสาวไทย ยกได้เท่ากันที่ 90 กิโลกรัม โดย ธรรญธร ยกทำสถิติได้ก่อน จึงคว้าเหรียญทองแดง ส่วน สุรจนา ได้อันดับ 4

ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก สุรจนา และ ธรรญธร ทำสถิติ 110 กิโลกรัม เท่ากันอีกครั้ง ครั้งนี้เป็น สุรจนา ที่ทำสถิติก่อน คว้าที่ ส่วน ธรรญธร ได้ที่ อย่างไรก็ตาม สถิติของ สุรจนา ยังเพียงพอจะคว้าเหรียญทองแดง มาครองด้วยสถิติ 200 กิโลกรัม เนื่องจากทำสถิติได้ก่อน ขณะที่ ธรรญธร ที่ทำ 200กิโลกรัม เท่ากันได้ อันดับ 4

ด้าน เจียง ฮุยฮัว จากจีน คว้า เหรียญทอง ท่าสแนทช์ 94 กิโลกรัมท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 113 กิโลกรัมน้ำหนักรวม207 กิโลกรัม ส่วน ฮัว จีฮุย จากจีน รับ 2เหรียญเงิน ท่าสแนทช์ 93 กิโลกรัมน้ำหนักรวม 204 กิโลกรัม และ เหรียญทองแดง ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 111 กิโลกรัม ขณะที่เหรียญเงิน ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก เป็นของ ริกะ ซูซูกิ จากญี่ปุ่น 111 กิโลกรัม ที่ทำสถิติได้ก่อน เนื่องจากลงแข่งขันในกลุมบี

ทั้งนี้ ช่วงเช้าวันเดียวกัน จอมพลังไทยประเดิมผลงานสวยในรุ่น 45 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ "มายด์สิริวิมล ประมงคล เจ้าของ เหรียญทอง และ เหรียญเงิน ศึกยกนำ้หนักชิงชนะเลิศแห่งโลก ปลายปีที่แล้ว โชว์ผลงานยอดเยี่ยมคว้า 3เหรียญทอง ท่าสแนทช์ ยกได้77กิโลกรัมท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 100กิโลกรัม คว้าเหรียญทอง และน้ำหนักรวม 177 กิโลกรัม ขณะที่ เขมิกา กำเนิดศรี ท่าสแนทช์ ยกได้ 69 กิโลกรัม ได้ที่ 4,ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 86 กิโลกรัม ได้ที่ 5และนำ้หนักรวม 155 กิโลกรัม ได้ที่ 4

ส่วน โรส จีน รามอส จากฟิลิปปินส์ รับ 3เหรียญเงิน ท่าสแนทช์ 73 กิโลกรัมท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 88 กิโลกรัม (ยกทำสถิติได้ก่อน), น้ำหนักรวม 161 กิโลกรัม ด้าน ซิติ นาฟิซาตุล แฮริโรห์ จากอินโดนีเซีย รับ เหรียญทองแดง ท่าสแนทช์ 71กิโลกรัมท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 88กิโลกรัมน้ำหนักรวม 159 กิโลกรัม

สรุปผลงานทัพยกเหล็กไทยประเดิมสนามวันแรก คว้าไป เหรียญทอง และ 2เหรียญทองแดง

สำหรับโปรแกรมการแข่งขันรุ่นอื่นๆ มีดังนี้ วันที่ 6 พฤษภาคม เวลา16.00 . รุ่น61 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ ธีรพงศ์ ศิลาชัย และ อส.ทพ.ธีรพัฒน์ ชมชื่นวันที่ 7พฤษภาคม เวลา 16.00 . รุ่น 59กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ สุรัสวดี ยอดสาร และ ธนพร แซ่เตียวันที่ 8 พฤษภาคม รุ่น73 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 16.00 .วีรพล วิชุมา และ สุทธิพงษ์ จีรัมย์วันที่10 พฤษภาคม รุ่น 76 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ เวลา 11.00 . สิริยากร ไขพันดุง และ รุ่น 89 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 13.00. จ่าเอกพชรเมธี ธาระพันธ์วันที่ 11พฤษภาคม รุ่น 96 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 16.00 . ศรัท สุ่มประดิษฐ์ และวันที่13 พฤษภาคม รุ่น+87 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ เวลา 11.00 . ดวงอักษร ใจดี

  • Hits: 2981

เปิดโผ 12 จอมพลังล่าเหรียญซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่กัมพูชา

สมาคมกีฬายกน้ำหนักฯ เปิดโผ 12 จอมพลังชายและหญิงทีมชาติไทย นำโดย ร.ท.หญิง ศานิกุณ ธนสาร ชุดสู้ศึกซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่กัมพูชา วางเป้าคว้า 2 เหรียญทอง กำหนดออกเดินทาง วันที่ 11 พฤษภาคม

สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ประกาศรายชื่อจอมพลังทีมชาติไทย ชุดเข้าร่วมการแข่งขันมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ระหว่างวันที่ 5-17 พฤษภาคม 2566 ที่ประเทศกัมพูชา

สำหรับรายชื่อ นักกีฬาชาย 6 คน ประกอบด้วย อส.ทพ.ธาดา สมบุญอ้วน รุ่น 55 กก., อส.ทพ.ธีรพัฒน์ ชมชื่น รุ่น 61 กก., อส.ทพ.วิษณุ จันทรี รุ่น 67 กก., จ่าเอกอนุชา ดวงศรี รุ่น 73 กก., นายจตุภูมิ ชินวงศ์ รุ่น 81 กก., และ นายรุ่งสุริยา ปัญญะ รุ่นมากกว่า 89 กก. ด้านนักกีฬาหญิง 6 คน น.ส.เขมิกา กำเนิดศรี รุ่น 45 กก., ร.ท.หญิง ศานิกุณ ธนสาร รุ่น 49 กก., น.ส.โป๊ยเซียน ยอดสาร รุ่น 55 กก., น.ส.สุรัสวดี ยอดสาร รุ่น 59 กก., น.ส.ทิพย์วรา จรถวิล รุ่น 71 กก. และ น.ส.ดวงอักษร ใจดี รุ่นมากกว่า 71 กก.

การแข่งขันยกน้ำหนักในซีเกมส์ ครั้งที่ 32 จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 13-16 พฤษภาคม 2566 ชิงทั้งหมด 14 รุ่น (ชาย 7 รุ่น และหญิง 7 รุ่น) และจำกัดให้แต่ละชาติส่งนักกีฬาในแต่ละประเภทได้สูงสุดเพียงแค่ 6 คน รวม 12 รุ่นเท่านั้น โดยสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย วางเป้าหมายครั้งนี้ไว้เบื้องต้นที่ 2 เหรียญทอง จากชายและหญิงอย่างละรุ่น

ทั้งนี้ นักยกน้ำหนักทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ มีกำหนดออกเดินทางไปกัมพูชา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ด้วยสายการบินบางออก แอร์เวย์ เที่ยวบินที่ PG 931 ออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 8.15 น. และบางส่วนที่มีภารกิจแข่งขันรายการชิงแชมป์เอเชีย 2023 อยู่ในเวลานี้ เมื่อชิงชัยเสร็จส้ิน จะเดินทางออกจากเกาหลีใต้ มุ่งหน้าสู่กัมพูชา ทันที

  • Hits: 3321